หลวงปู่ผาง สมเด็จผาง พิมพ์ใบโพธิ์ รุ่นแรก วัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี 2514 No.1
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พีพีพระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
พีพีพระเครื่อง | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อผง | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
หลวงปู่ผาง สมเด็จผาง พิมพ์ใบโพธิ์ รุ่นแรก วัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี 2514 No.1 |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
-หลวงปู่ผาง สมเด็จผาง พิมพ์ใบโพธิ์ รุ่นแรก วัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี 2514 (พร้อมกล่อง-สร้างน้อย) -ขนาดองค์พระ กว้าง 1.4 ซม. สูง 1.6 ซม. ประวัติหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต นามเดิม ผาง ครองยุติ เกิด วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล ณบ้านกุดกะเสียน ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมมารดา บิดา 3 คน คือ 1. นางบาง ครองยุติ 2. นายเสน ครองยุติ 3. นายผาง ครองยุติ โยมบิดาชื่อ ทัน โยมมารดาชื่อ บัพพา เมื่ออายุได้ 20 ปี (พ.ศ.2465) ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ตามประเพณีลูกผู้ชายชาวไทย และทดแทนพระคุณบิดามารดา สังกัดคณะมหานิกาย ณ วัดเขื่องกลาง บ้านเขื่องใน ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีพระครูดวน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ศึกษาพระธรรมวินัย มีความรู้พอสมควร เมื่อบวชได้ 1 พรรษา จึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศ ครั้นอายุได้ 23 ปี ได้แต่งงานมีครอบครัวกับนางสาวจันดี สายเสมา คนบ้านแดงหม้อ ต.แดงหม้อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี อยู่ด้วยกันมา 21 ปี ไม่มีบุตร มีแต่บุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่ออายุได้ 43 ปี จึงได้ชวนกันกับภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ท่านได้มอบสมบัติทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดให้แก่นางหนูพาน ผู้เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งแต่งงานมีครอบครัวแล้ว ส่วนตัวท่านได้เข้าอุปสมบทอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 ในคณะมหานิกายเช่นเดิม ที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีพระครูศรีสุตตาภรณ์ (ตื๋อ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ไม่ปรากฎ หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษาที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข อ.เขื่องใน จ.อึบลราชธานี แต่ท่านได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐาน อยู่ในสำนักวัดป่าวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (เจ้าคุณพระญาณวิศิษฎ์) และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล และได้ทำการญัตติกรรมในคณะธรรมยุติ เมื่ออายุได้ 47 ปี ณ วัดบ้านโนนหรือวัดทุ่ง โดยมีพระครูพินิจศีลคุณ (พระมหาอ่อน เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2491 แรม 2 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด ซึ่งเป็นการอุปสมบทเป็นครั้งที่ 3 ของท่าน หลวงปู่ผาง ได้ปฏิบัติฝึกอบรมกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พอสมควรแล้วก็ได้ออกธุดงค์ ปฏิบัติกรรมฐานไปวิเวกโดยลำพัง และได้เข้าอบรมอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านนามน จ.สกลนคร ได้พอสมควร ก็ท่องเที่ยววิเวกไปแต่ผู้เดียวในป่าเขา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาหลายปี ต่อมาในปี พ.ศ.2492 ได้มาพักจำพรรษาที่วัดป่าบัลลังก์ศิลาทิพย์ บ้านแทน ต.บ้านแท่น อ.ชนบท จ.ขอนแก่น จำพรรษาได้ 1 พรรษา พอออกพรรษาแล้วท่านจึงได้เดินธุดงค์ไปทางอำเภอมัญจาคีรี ชาวบ้านโสกใหญ่ บ้านดอนแก่นเฒ่า บ้านโสกน้ำขุ่น ได้พร้อมใจกันมานิมนต์หลวงปู่ ไปพักภาวนาที่เชิงเขาภูผาแดง อ.มัญจาคีรี ชาวบ้านเรียกสถานที่นั้นว่า “ดูน” เนื่องจากมีน้ำไหลออกมาจากภูเขาตลอดปี ชาวบ้านแถวนั้นถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีพระรูปใดเข้าไปอยู่ได้ และที่ตรงนี้เองที่ตรงกับที่ท่านเห็นในสมาธินิมิตทุกประการ ท่านจึงได้ชวนชาวบ้านสร้างเป็นวัด ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกว่า “วัดดูน” ตั้งแต่นั้นมา หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดอุดมคงคาคีรีเขต” แปลว่า วัดที่อุดมไปด้วยน้ำและมีภูเขาเป็นเขต ตั้งแต่พ.ศ.2493 ท่านจึงได้จำพรรษาอยู่ที่วัดดูนนี้เรื่อยมา และก็ได้เดินธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ได้ผจญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้มาอย่างดี จึงกล่าวว่าท่านเป็นพระนักปฏิบัติและพระสุปฏิปันโนอย่างแท้จริงได้องค์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2505 หลวงปู่ได้สร้างวัดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ที่บ้านแจ้งทับม้า ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่นตั้งอยู่ห่างจากวัดอุดมคงคาคีรีเขตไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า “วัดป่าพัฒนาคีรี หรือวัดบ้านแจ้ง” มีเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ พ.ศ. 2505 – 2507 ระยะทางที่สามแยกปากทาง จากถนนระหว่างอำเภอมัญจาคีรี – อำเภอแก้งคร้อ ไปวัดอุดมคงคาคีรีเขต ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเล็ก ๆ แคบ ๆ คดเคี้ยว การคมนาคมไม่สะดวก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนลำบากมาก หลวงปู่จึงได้ประชุมชาวบ้านทุกหมู่บ้านที่ถนนผ่าน เพื่อช่วยพัฒนาตัดถนนใหม่ให้มีเส้นทางให้ได้มาตรฐาน ขนาดกว้างพอควร และที่ประชุมยอมรับมติที่หลวงปู่ปรารถนาและแนะนำ หลังจากมีมติทำถนนใหม่แล้ว ชาวบ้านทุกหมู่บ้านก็ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาจนกระทั่งแล้วเสร็จ โดยหลวงปู่ได้อยู่เป็นประธานตลอด โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐแต่ประการใด ปัจจุบันเป็นเส้นทางสำคัญของชาวบ้านในการคมนาคมเพื่อการเกษตรขนส่งและอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2507 ทางวัดอุดมคงคาคีรีเขตได้รับความร่วมมือจาก กรป.กลาง กรุงเทพฯ และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่จังหวัดอุดรธานี ได้นำหน่วยงานดังกล่าวพัฒนาเส้นทางไปวัดอุดมคงคาคีรีเขต เป็นถนนขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร ยาว 12 กิโลเมตร ลงหินลูกรังตลอดเส้นทาง และต่อมา วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2523 หลวงปู่ได้มีหนังสือถึงสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อของบประมาณทำถนนเส้นดังกล่าวเป็นถนนลาดยาง ซึ่งทางราชการก็ได้อนุมัติ และก็ได้ทำเป็นถนนลาดยางในเวลาต่อมา ซึ่งก็ได้ใช้ประโยชนต่าง ๆ ดังเช่นที่ปรากฎในปัจจุบัน พ.ศ. 2511 เมื่อท่านพระครูโอภาสสมณกิจ เจ้าคณะอำเภอชนบท จ.ขอนแก่น วัดป่าธรรมวิเวก ได้ก่อสร้างอุโบสถ ท่านพระครูฯและคณะสงฆ์ พร้อมด้วยทายกทายิกาชาวชนบท ได้กราบอาราธนานิมนต์หลวงปู่ผางมาจำพรรษาที่วัดป่าธรรมวิเวกแห่งนี้ เพื่อเป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ได้เมตตารับเป็นประธานด้วยดี และช่วยอุปถัมภ์มาตลอด เริ่มตั้งแต่อนุญาตให้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่าน เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถ กระทั่งอุโบสถวัดป่าธรรมวิเวกเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการ หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ และก็ได้สร้างสาธารณะสถานไว้ในพระพุทธศาสนามากมาย จึงเป็นที่รู้จักและเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป พ.ศ. 2523 หลวงปู่ผาง ได้เมตตารับเป็นประธานอำนวยการสร้าง “พระธาตุขามแก่น ศิโรดม” หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับพ่อค้า ประชาชน ภาคราชการ เอกชนทุกหมู่เหล่า เพื่อร่วมฉลองสองร้อยปีกรุงรัตนโกสินทร์ และในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2525 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จทำพิธีเปิดพระธาตุขามแก่น ศิโรดม ให้ประชาชนได้สักการะบูชา ปัจจุบัน พระธาตุขามแก่น ศิโรดม ถือได้ว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ได้สร้างเสร็จทันเแลืมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 พอดี ทางจังหวัดได้กำหนดให้มีงานนมัสการพระธาตุขามแก่น ศิโรดม เป็นงานประจำปีของจังหวัด ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม ของทุกปี ทอดผ้าป่าผ้าไหมสามัคคี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิายน พ.ศ.2524 หลวงปู่พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ทายก ทายิกา และคณะศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันจัดผ่าป่าสามัคคดี “ผ้าไหมไตรจีวร” ไปทอดถวาย 3 วัดด้วยกันคือ 1. ทอดถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ 2. ทอดถวายสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวธฺฒโน ป.ธ.9 วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเพทฯ ซึ่งต่อมาท่านได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก 3. ทอดถวายพระพรหมมุนี (สนั่น จนฺทปชฺโชโต ป.ธ.9) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาท่านได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ การไปทอดผ้าป่าสามัคคีของหลวงปู่ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ท่านปรารภจะทำมานานแล้ว ซึ่งเป็นการจัดผ้าป่าไปทอดถวายครั้งแรกในชีวิตของท่าน และก็ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายด้วยเช่นกัน มรณภาพ ต่อมาวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 หลวงปู่ได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา เนื่องจากพบว่าหลวงปู่เริ่มเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหาร 23 กุมภาพันธ์ 2525 หลวงปู่ได้มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนี้ ด้วยอาการอ่อนเพลีย เนื่องจากมีอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร และยังพบว่ามีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นด้วย 16 มีนาคม 2525 คณะศิษย์ได้นิมนต์กลับวัด หลังจากหลวงปู่กลับถึงวัดได้ไม่กี่วัน ก็มีอาการอาเจียน ฉันอาหารและน้ำไม่ได้ ปัสสาวะน้อย และแล้ว ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525 หลวงปู่ได้ละสังขารในตอนบ่ายนั้น เวลา 16.45 น. ด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 80 ปี (34 พรรษา) นับเป็นการจากไปของพระ สุปฏิปันโน ผู้มีคุณธรรมอันเลิศรูปหนึ่ง ที่ไม่ปรารถนาลาภ ยศ สรรเสริญ หรือติดในโลกธรรมแต่ประการใด ดังคำที่ท่านพูดไว้ว่า “มีชื่อไม่อยากให้ปรากฎ มียศไม่อยากให้ลือชา มีวิชาไม่ให้เรียนยาก” แต่คุณธรรมและปฏิปทาของท่านยังเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมิรู้ลืม ท่านยังเป็นพระในดวงใจของคณะศิษยานุศิษย์ไม่เสื่อมคลาย ตราบนานเท่านาน จึงได้จัดพิธีพระราชทาน เพลิงศพไว้อาลัยแด่หลวงปู่เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อวันอังคารที่ 24 มีนาคม 2528 เวลา 16.00 น. คณะศิษยานุศิษย์ พุทธศาสนิกชนทั่วไปจากทั่วทุกสารทิศได้หลั่งไหลกันมาจากทุกภาคของประเทศไทย เพื่อร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ “หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต” |
|||||||||||||||
ราคา
|
1900 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
089-448-3434 | |||||||||||||||
ID LINE
|
tanetbty | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
26 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6
|
|||||||||||||||
|